องค์การบริหารส่วนตำบลสามเมือง อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา : www.sammuangsida.go.th

 
 
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ

วิสัยทัศน์ในการพัฒนา (VISION)

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลสามเมือง เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลสามเมือง ที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาอันมีลักษณะที่แสดงถึง วิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมาย เพื่อการพัฒนาในอนาคตโดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด และนโยบายในการพัฒนาของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลสามเมือง  จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา ดังนี้

วิสัยทัศน์ (VISION) หมายถึง สภาพการณ์ในอุดมคติ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของท้องถิ่นที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า การมองไปข้างหน้าด้วยความหวังตั้งใจ และมีโอกาสเป็นไปได้ เพราะเราเชื่อว่าหากสภาพการณ์ดังกล่าวเช่นโครงการต่างๆ ที่สำคัญ และมีประโยชน์ต่อประชากรเกิดขึ้น แล้วจะส่งผลให้เกิดคุณค่าความพึงพอใจของประชาชน หรือค่านิยมบางประการที่เรายึดถือ เช่น คุณภาพชีวิตของประชาชน การเติบโตทางเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกัน การกินดีอยู่ดี และการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ประเพณีวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์ไว้ เป็นต้น  กล่าวอีกนัยหนึ่งวิสัยทัศน์เป็นผลรวมของการสรุปบทเรียน จากอดีตการแสดงความคิดเห็น การทุ่มเทความรู้ และประสบการณ์(พิจารณาว่าองค์กรมีข้อเด่น ข้อด้อยอะไรบ้าง) เพื่อนำมาแก้ไข และพัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น พิจารณาปัจจุบัน (พิจารณาว่าปัจจุบันองค์กรเป็นแบบใด คือมีบทบาทหน้าที่ในระดับใด) พัฒนาตรงไหน มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด และมุ่งหวังถึงอนาคตข้างหน้า สรุปการกำหนดวิสัยทัศน์คือการตอบคำถามว่า ท้องถิ่นต้องการอะไรในอนาคต

จากสภาพทั่วไป ข้อมูลพื้นฐานสำคัญของท้องถิ่น และสภาพปัญหาของท้องถิ่น ตลอดจนผลการวิเคราะห์ศักยภาพในท้องถิ่น และการประเมินสถานภาพ การพัฒนาท้องถิ่นในปัจจุบันและโอกาสการพัฒนาในอนาคตของท้องถิ่นในดียิ่งขึ้น และเป็นระบบแบบแผนที่วางไว้ โดยการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคต่างๆ แล้วจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลสามเมือง ดังนี้

 

สามเมืองน่าอยู่  ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน  น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง         คู่เคียงธรรมาภิบาล  บริการสาธารณะเป็นเลิศ

สามเมืองน่าอยู่  มุ่งหวังให้ตำบลสามเมือง เป็นตำบลรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมอันดีงานของท้องถิ่น ประชาชนมีความสามัคคี สงบสุข ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีการสร้างสรรค์และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทั้งด้านกายภาพและสังคมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการขยายแหล่งทรัพยากรของชุมชน โดยให้ประชาชนในชุมชนนั้นมีส่วนร่วม และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกี่ยวกับการดำเนินวิธีทางของชีวิต เพื่อให้ได้ศักยภาพชีวิตที่ดีที่สุด

ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน  มุ่งหวังให้ประชาชนทั่วไป เตรียมพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ภาษา สังคม วัฒนธรรม และภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  กระจายรายได้ นอกจากนี้การใช้ภาษีเพื่อกระจายความเจริญให้เท่าเทียมกัน และการใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาจะต้องเป็นการตัดสินใจร่วมกันระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม

น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง  มุ่งหวังให้ตำบลสามเมือง เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิพันธุ์ดี        
สู่ครัวโลก
โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiemcy Ehilosophy) มาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิต และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภายและวิกฤติเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

คู่เคียงธรรมาภิบาล  มุ่งหวังให้ตำบลสามเมือง  บริหารจัดการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ  โดยยึดหลักธรรมาภิบาล  รวมถึงส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  ซึ่งก็คือ การปกครองประชาชน  โดยประชาชน  เพื่อประชาชน  โดยให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมคิด  ร่วมทำ  ร่วมตัดสินใจ และร่วมตรวจสอบการทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่  น่าลงทุน

บริการสาธารณะเป็นเลิศ  มุ่งหวังให้ตำบลสามเมือง  ให้บริการสาธารณะที่ดี มีประสิทธิภาพ  โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) เพื่อให้บริการสาธารณะ มีคุณภาพตรงตามความต้องการของประชาชน และสามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้อย่างตรงจุด  เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ ประชาชนมีความพึงพอใจ  โดยดำเนินโครงการความร่วมมือกับส่วนราชการต่างๆ

พันธกิจ (Mission)

1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และพัฒนาตำบลมุ่งสู่  เมืองน่าอยู่  น่าลงทุน

2. ส่งเสริม สนับสนุนการดำรงชีวิตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

3. พัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต และเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชน

4. การพัฒนาส่งเสริม สนับสนุนการจัดการด้านสาธารณสุข

5. ส่งเสริมการศึกษา และกระบวนการเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

6. อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนฟื้นฟู

    ฮีตสิบสอง  คลองสิบสี่ อีกทั้งส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ

7. ส่งเสริม พัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการท่องเที่ยว

8. พัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการภาครัฐใมีประสิทธิภาพ  โดยยึดหลักธรรมาภิบาล